วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

สารบอแรกซ์ในหมึกกรอบ

“หมึกกรอบ” อาหารจากภูมิปัญญาของชาวจีน ที่นำเข้ามาในประเทศไทยสมัยก่อน โดยใช้ “ขี้เถ้า” มาช่วยแปลงร่างหมึกแห้งให้กลายเป็นหมึกกรอบ ด้วยวิธีนำขี้เถ้า 1 ส่วน มาละลายในน้ำ 3 ส่วน หลังขี้เถ้าตกตะกอนจึงนำปลาหมึกแห้งมาแช่ทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งเช้า จากหมึกแห้งจะกลายร่างเป็นหมึกกรอบตัวใหญ่ กรุบกรอบ ดูน่าทาน
สมัยนี้การผลิตหมึกกรอบปริมาณมากๆ ถ้าจะต้องมานั่งหาขี้เถ้ามาละลายน้ำ เห็นทีจะไม่ทันกิน
ผู้ผลิตจึงนำ “เบกกิ้งโซดา” (โซเดียมไบคาร์บอเนต) มาละลายน้ำแทนการใช้ขี้เถ้า มาผลิตหมึกกรอบ ซึ่งสารชนิดนี้นำมาใช้หรือผสมลงในอาหารได้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ทว่าผู้ผลิตบางรายอาจกลัวว่าหมึกกรอบของตนจะไม่กรุบกรอบและเก็บได้นานอย่าง
ที่ต้องการ จึงแอบใส่ “สารบอแรกซ์” เพื่อเพิ่มความกรุบกรอบ ช่วยให้หมึกคงรูปและไม่เสียง่าย
สำหรับการใช้บอแรกซ์ ตามข้อกฎหมายกำหนดว่าห้ามใช้ผสมลงในอาหาร เพราะเป็นสารอันตราย เพราะหากผู้บริโภคได้รับสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายปริมาณมากๆ นอกจากจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง หากได้รับเข้าสู่ร่างกายปริมาณน้อยๆแต่บ่อยครั้งติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ
เพื่อความสบายใจ สถาบันอาหาร จึงได้สุ่มตัวอย่างปลาหมึกกรอบ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 4 แผงลอยและ 1 ร้านค้าในตลาดสดเขตกรุงเทพฯ นำมาวิเคราะห์สารบอแรกซ์ปนเปื้อน ซึ่งผลปรากฏเป็นที่น่าพอใจเพราะปลาหมึกกรอบทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนสารดังกล่าว ฉะนั้น สาวกหมึกกรอบหม่ำได้อย่างสบายใจ.

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

กระทรวงเกษตรฯ ทำพิลึก ของบฯ 98 ล้านบาท อบรมใช้สารพิษ



    ประชาชนและสื่อมวลชนต่างวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของกระทรวงเกษตรฯซึ่งแทนที่แบนสารพิษร้ายแรง หรือหาวิธีการอื่นทดแทน แต่กลับใช้งบประมาณของรัฐเกือบ 100 ล้านบาท สนับสนุนบริษัททางอ้อม เพื่ออบรมให้เกษตรกรใช้สารพิษร้ายแรงต่อไปอย่าง “ปลอดภัย” 
   ที่จริงนโยบายของรัฐบาลที่อุ้มชูบริษัทสารพิษเหล่านี้ยังมีอีกหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการไม่ยอมแบนสารพิษร้ายแรงที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านต่างยกเลิกการใช้แล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการยกเว้นภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แก่บริษัทสารพิษ ซึ่งมีมูลค่าภาษีที่รัฐต้องสูญเสียรวมกันกว่า 10,000 ล้านบาท/ปี โดยอ้างเหตุผลสวยหรูบังหน้าว่า “เป็นการลดการผลักภาระต้นทุนแก่เกษตรกร” เป็นต้น 
   หากประชาชนและสื่อมวลชนตระหนักว่า นี่เป็นเรื่องพิลึกพิลั่นที่ควรแก้ไข ช่วยกันวิพากษ์วิจารณ์ เผยแพร่ให้คนส่วนใหญ่ได้ตระหนัก การเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยในประเทศนี้จึงจะเกิดขึ้นได้

ที่มา: News

รถไฟบรรทุกสารเคมีตกราง 14 โบกี้ในอิลลินอยส์



      วันนี้ (11 ก.ย.62) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เกิดเหตุขบวนรถไฟบรรทุกสารเคมีไวไฟตกราง 14 โบกี้ ในเมืองรัฐอิลลินอยส์ของสหรัฐเมื่อวานนี้ (อังคาร) ทำให้เกิดไฟลุกท่วมไหม้โบกี้ที่ตกราง กลายเป็นเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่มีสาเหตุจากสารเคมี ส่งควันดำกลุ่มใหญ่ขึ้นสู่ท้องฟ้า มองเห็นได้ไกลหลายกิโลเมตร
    มีการอพยพนักเรียนออกจากโรงเรียนหลายแห่ง และอพยพชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงจุดเกิดเหตุ เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับอันตรายจากไอระเหยจากสารเคมีไวไฟที่ไหม้ไฟ ซึ่งอาจทำให้เกิดผื่นบนผิวหนัง นอกจากนี้ ยังเกิดไฟฟ้าดับ หลังจากที่รถไฟตกราง สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนอีกเกือบ 400 คน อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุครั้งนี้ 
    สำหรับสารเคมีไวไฟที่อยู่ในรถไฟที่ตกราง ชื่อว่า เมธิล ไอโซ คีโตนบิวทิล ขนส่งโดยบริษัทขนส่ง ยูเนี่ยน แปซิฟิก 
   ด้าน เจ้าหน้าที่สามารถดับเพลิงที่ไหม้รถไฟได้แล้ว หลังจากเพลิงโหมกระหน่ำอยู่นานเกือบ 3 ชั่วโมง และได้ยกเลิกการอพยพประชาชนแล้ว หลังจากตรวจสอบคุณภาพอากาศแล้วไม่พบอันตราย
ที่มา: chemistry

“รมช.มนัญญา”เร่งรวบรวมข้อมูลจ่อฟันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง 3 ชนิด ก่อนเสนอ คกก.วัตถุอันตราย อ่านต่อได้ที่ : https://www.ryt9.com/s/prg/3040184

         


          ตัวแทนเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษร้ายแรง 868 องค์กร เข้าพบ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหารือการแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง และสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต และนำเสนอข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องและแนวทางในการจัดการปัญหาดังกล่าว พร้อมด้วยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) และสมาชิกเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร อาทิ เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายวิชาการ เครือข่ายผู้บริโภค Thai-PAN และเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษร้ายแรง ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

        นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ มีความชัดเจนที่จะสนับสนุนให้ยกเลิกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงทั้ง 3 ชนิดได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต โดยได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการระงับใบอนุญาตและไม่มีการต่ออายุใบอนุญาตนำเข้าสารดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา  ในส่วนสต๊อกสารเคมีที่คงเหลือมีอยู่ปริมาณเท่าใดนั้น ขณะนี้ได้รับทราบข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรแล้วแต่ยังไม่ขอเปิดเผย โดยเป็นข้อมูลตารางเปรียบเทียบตั้งแต่การเริ่มนำสารเคมีทั้ง 3 ชนิด เข้ามาในประเทศ รวมทั้งข้อมูล 4 ปีย้อนหลัง โดยจะเข้าไปตรวจดูสต็อกด้วยตนเอง ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ตรวจ   พบว่า ขณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีแล้ว ส่วนหนึ่งเลิกได้ด้วยตนเอง เนื่องจากตระหนักถึงผลเสียหายและอันตรายจากการใช้สารเคมีที่จะทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย พร้อมทั้งหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น และลดการใช้สารเคมีลง จึงขอขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วน ตลอดทั้งสื่อมวลชนทุกแขนงที่ได้ร่วมกันเผยแพร่ข่าวสาร ทำให้พี่น้องเกษตรกรได้ให้ความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรฯ และตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากยิ่งขึ้น

อ่านต่อได้ที่ : https://www.ryt9.com/s/prg/3040184

กระบะบรรทุกสารเคมีรั่วไฟลุก! คนขับจอดรถหนีตาย-คาดเคมีรั่วเจอความร้อนจึงปะทุ

      ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีเกิดเหตุระทึก เมื่อจู่ๆ มีรถกระบะโตโยต้า รีโว่ สีขาว ทะเบียน กทม. ที่บรรทุกสารเคมีHYDROGEN PEROXIDE 50% จำนวน 100 แกลลอน น้ำหนัก แกลลอนละ 30 กิโลกรัม น้ำหนักรวม 3 ตัน วิ่งมาตามถนนสุขุมวิทฝั่งมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ ใกล้กับสามแยกปู่เจ้าสมิงพราย ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรราการ.

   โดยได้เกิดไฟลุกไหม้บริเวณช่วงท้ายกระบะที่มีหลังคาอะลูมิเนียมปิดทึบ ทำให้รถกระบะคันดังกล่าวเสียหาย และมีถังเคมี HYDROGEN PEROXIDE 50% บางส่วนเสียหาย
    เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจากเทศบาลสำโรงเหนือ ใช้รถน้ำ 1คัน ฉีดน้ำสกัดประมาณ 30 นาที เพลิงจึงสงบ แต่เนื่องจากจุดเกิดเหตุเป็นถนนสายหลัก จึงทำให้การจราจร บนถนนสุขุมวิท ติดขัดยาวกว่า 3 กิโลเมตร
    ทางเจ้าหน้าที่ จึงต้องรีบเคลื่อนย้ายรถบรรทุกเคมีดังกล่าวออกจากผิวการจราจร ไปอยู่ในที่ปลอดภัย นอกจากนี้ที่เกิดเหตุ ยังมีสารเคมีรั่วออกจากแกลลอน หยดลงบนพื้นถนน เกิดควันสีขาวเข้ม เมื่อเข้าใกล้จะมีอาการแสบ และคันที่ผิวหนังด้วย ทางเจ้าหน้าที่ฯ จึงกันบุคคลไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้าใกล้โดยเด็ดขาด
ที่มา:News

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562

รถพ่วงบรรทุกสารเคมี รั่วไหลขณะขนส่งทำไฟไหม้ ต้องปิดถนนสาย 331 ชั่วคราว

          



     พ.ต.อ.ปพนพัชร์ ใบยา ผกก.สภ.บ่อวินได้รับแจ้งเหตุว่า พบรถพ่วง 18 ล้อ เกิดเพลิงไหม้บริเวณหางบรรทุกพ่วงมีกลุ่มควันลอยพุ่งและส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณที่เกิดเหตุจึงรีบรุดไปตรวจสอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยศีลธรรมพร้อมประสานไปยัง เทศบาลนครสุรศักดิ์ อบต.บ่อวิน อบต.เขาคันทรง อบต.เขาไม้แก้ว ชุดกู้ภัยสารเคมีจากนิคมอมตะชิตี้  ที่เกิดเหตุพบรถพ่วง 18 ล้อ ยี่ห้อ อีซุซุ สีขาว หมายเลขทะเบียนส่วนหน้า 79-3885 กรุงเทพมหานคร จอดอยู่ ไม่หางกันพบ ส่วนหาง 
76-8478 กรุงเทพมหานคร โดยภายในมีกลุ่มควันลอยขึ้น เจ้าหน้าที่จึงได้ระดมกำลังเร่งฉีดน้ำดับเพลิง เพื่อสกัดกั้น ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่พบ นายเอกชัย บัวละคร อายุ 32 ปี แสดงตนเป็นผู้ขับขี่ โดยระบุว่าภายในพ่วงดังกล่าว เป็นสารเคมีชนิดน้ำที่เสื่อมสภาพแล้วเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ได้มีการฉัดน้ำเพื่อสกัดกั้นความร้อนเกรงจะส่งผลให้สารเคมีเกิดระเบิดขึ้นได้

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562

หนุ่มสะพายถังยาฆ่าหญ้าแต่เกิดรั่วลงหลังถึงก้น-สารเคมีทำลายอวัยวะภายใน สุดท้ายเสียชีวิต

       7 ส.ค. 2562  พญ.ณัฐกานต์ ชื่นชม อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ของโรงพยาบาลแม่สอด ได้โพสต์เรื่องราวหลังการรักษาคนไข้ที่ สะพายถังยาฆ่าหญ้า แต่มันเกิดรั่วไหลลงหลังและก้น จนเป็นแผลปวดแสบปวดร้อน
"ฉันตาลีตาเหลือกทำเรื่องนอนโรงพยาบาลให้คนไข้..นี่ไม่ใช่เคสแรกของการเป็นหมอของฉัน ฉันเคยมีคนไข้ชาวนาที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับพาราควอตด้วยวิธีการเดียวกันนี้สองคนก่อนหน้า"
คุณหมอณัฐกานต์ พยายามที่จะช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ แต่สุดท้ายไม่เป็นผล คนไข้ถูกพิษจากสารเคมีที่เข้าไปในร่างกาย ทำลายอวัยวะภายใน ทั้งตับ ไต และปอด ก่อนเสียชีวิตคนไข้มีอาการหอบลึก ออกซิเจนต่ำ ดิ้นทุรนทุรายร้องโหยหวนดูทุกข์ทรมาน

ทั้งนี้ พญ.ณัฐกานต์ วอนให้มีการห้ามใช้พาราควอต (Paraquat) สารเคมีกำจัดวัชพืช หรือ ยาฆ่าหญ้า ในไทย เพราะในแต่ละปีโรงพยาบาลมีคนไข้เคสดังกล่าวเกือบ 20 ราย มีเพียงแค่ 1-2 คนที่รอดชีวิตเท่านั้น
"ฉันอยากวิงวอนให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณาถึงการมีอยู่ของยาฆ่าหญ้าสารเคมีตัวนี้ มันอาจจะมีประโยชน์ในตัวมันแต่อีกด้านหนึ่งมันเป็นเพชรฆาต ไม่ว่าจะให้ความรู้ความเข้าใจอย่างไรแต่พลาดไม่ได้ พลาด=ชีวิต"
ที่มา: chemisty

สารบอแรกซ์ในหมึกกรอบ

“หมึกกรอบ” อาหารจากภูมิปัญญาของชาวจีน ที่นำเข้ามาในประเทศไทยสมัยก่อน โดยใช้ “ขี้เถ้า” มาช่วยแปลงร่างหมึกแห้งให้กลายเป็นหมึกกรอบ ด้วยวิธีนำ...