บทที่ 1 ความปลอดภัยทั่วไปในห้องปฏิบัติการ

ความปลอดภัยในห้องปฎิบัติการ

ข้อปฏิบัติทั่วไปในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
  • การเตรียมสารเคมีพวก กรด ด่าง หรือสารระเหย ควรทำในตู้ดูดควัน
  • เทกรดลงน้ำ  ห้ามเทน้ำลงกรด
  • ไม่ใช้จุกแก้ว กับขวดบรรจุสารละลายด่าง เพราะจุกจะติดกับขวดจนเปิดไม่ได้
  • ไม่ใช้จุกยางกับขวดบรรจุตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น แอลกอฮอล์ อะซีโตน
  • ห้ามใช้เปลวไฟในการให้ความร้อนแก่ของเหลวไวไฟ หรือในขบวนการกลั่น
  • ให้ความระมัดระวังในการจุดไฟในห้องปฏิบัติการ ดับไฟทันทีเมื่อเลิกใช้งาน ไม่ควรปล่อยให้ไฟติดทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู
  • ก่อนที่จะทำการจุดไฟ ควรย้ายวัสดุไวไฟออกจากบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ควรแน่ใจว่าได้ปิดภาชนะที่บรรจุของเหลวไวไฟอย่างดีแล้ว
  • ควรเก็บสารเคมีไวไฟในตู้สำหรับเก็บสารเคมีไวไฟโดยเฉพาะ
  • หลีกเลี่ยงการสูดดมไอระเหยของสารเคมี ห้ามทดสอบชนิดของสารเคมีโดยยกดมกลิ่นโดยตรงอย่างเด็ดขาด
  • การดูดสารละลายโดยใช้ปิเป็ต ห้ามใช้ปากดูด ให้ใช้ลูกยาง
  • ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ
  • ในกรณีที่มีสารระเหยไวไฟ (Volatile flammable material) ควรใช้ตู้ดูดควันในการถ่ายเท  ผสม หรือ ให้ความร้อนสารเคมี
  • กรณีสามารถเลือกใช้สารเคมีได้  ควรเลือกใช้สารเคมี ที่มีความเป็นพิษน้อยที่สุด ใน ปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่พึงกระทำได้
  • อ่านคู่มือ และเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารก่อมะเร็ง
  • หากผิวหนังถูกสัมผัสโดยสารเคมี ต้องล้างออกโดยทันทีด้วยน้ำประปา หรือน้ำสะอาด อย่างน้อย 15 นาที
  • เมื่อเลิกปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ควรล้างมือด้วยสบู่ และน้ำสะอาด
  • ห้ามดื่ม  กิน  เคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ หรือ แม้แต่ทาเครื่องสำอางในห้องปฏิบัติการ
  • ห้ามนำเครื่องดื่ม อาหาร บุหรี่ และเครื่องสำอางเข้ามาเก็บในบริเวณห้องปฏิบัติการ
  • ห้ามใช้เครื่องไมโครเวฟในห้องปฏิบัติการเพื่อเตรียมกาแฟ  อาหาร
  • ห้ามใช้ตู้เย็นในห้องปฏิบัติการเพื่อเก็บอาหาร
  • ควรใส่เครื่องแต่งกายให้รัดกุม และเหมาะสม ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหลวมหรือคับเกินไป  
  • หากผมยาวให้มัดผมให้เรียบร้อย
  • ควรสวมเสื้อปฏิบัติการทุกครั้งเมื่อทำการทดลองและถอดเสื้อปฏิบัติการออกเมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง ไม่ควรสวมเสื้อปฏิบัติการเดินไปมาทั่วทั้งตึก
  • ควรให้ใส่รองเท้าที่ปิดมิดชิด 
วิธีการจัดเก็บและรักษาสารเคมีที่เหมาะสม
วิธีการจัดเก็บและรักษาสารเคมีที่เหมาะสม ควรดำเนินการดังนี้
  • ต้องมีการตรวจสอบ ประเมินอุปกรณ์ที่ใช้ เพื่อความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องมั่นใจว่าสารเคมี ทุกภาชนะบรรจุ มีฉลากที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีสัญลักษณ์เตือนภัยกำกับ
  • ต้องศึกษาสมบัติของสารเคมีที่จะเก็บรักษา จากนั้นจึงทำการจัดแบ่ง ประเภทให้ถูกต้อง ต้องมีการตรวจสอบ บริเวณที่เก็บรักษาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากสารเคมีบางชนิด สลายตัวช้า ๆ ตลอดเวลาการเก็บ อาจต้องมีสภาวะพิเศษ เช่น สารที่มี Halomethyl group สลายตัวให้แก๊ส Halogen halide เมื่อมีความชื้น หรือสัมผัสกับสนิม ซึ่งหากมีความดันของแก๊สเพิ่มขึ้น ถึงจุดหนึ่ง อาจทำให้ภาชนะบรรจุระเบิดได้
  • ระวังเป็นพิเศษสำหรับสาร ที่ต้องเก็บแยกจากกันโดยเด็ดขาด โดยป้องกันไม่ให้มีการเก็บสาร ที่อาจทำปฏิกิริยารุนแรง เมื่อสัมผัส หรือผสมกันไว้ด้วยกัน หรือใกล้กัน เช่นสาร Cyanides ควรเก็บแยกไว้ต่างหาก อย่างปลอดภัย ไม่ให้มีโอกาสสัมผัสกับกรด
  • ภาชนะบรรจุสารเคมีที่เก็บรักษา จะต้องมีฉลาดระบุวันที่รับ ผู้สั่งซื้อ ผู้รับผิดชอบการใช้ และเก็บรักษา
  • ต้องไม่มีสารเคมี ที่ไม่ปรากฏในรายการเก็บรักษา ที่เป็นปัจจุบัน อยู่ในห้องเก็บสารเคมี สารเคมีที่หมดอายุแล้ว ต้องเอาออกจาก บริเวณที่จัดเก็บ เพื่อนำไปกำจัดทิ้งโดยเร็ว
  • สารเคมีใดที่ไม่ปรากฏว่า มีการซื้อ หรือเบิกจ่ายเป็นเวลานาน ควรตัดออกจารายการ สารเคมีที่เก็บรักษาเพื่อใช้งาน และแยกออก เพื่อกำจัดตามวิธีที่เหมาะสมต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สารบอแรกซ์ในหมึกกรอบ

“หมึกกรอบ” อาหารจากภูมิปัญญาของชาวจีน ที่นำเข้ามาในประเทศไทยสมัยก่อน โดยใช้ “ขี้เถ้า” มาช่วยแปลงร่างหมึกแห้งให้กลายเป็นหมึกกรอบ ด้วยวิธีนำ...